เมนู

ตกลงใจในประโยคเป็นต้นว่า หากใครจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมี
เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย บุคคลนั้นก็จะพึงถูกคัดค้าน ดังนี้ว่า ชราและมรณะมี
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย.
ในที่นี้ อิติศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่า ปรากฏในความหมายว่า ปการะ
นิทัสสนะ และอวธารณะ. บรรดาความหมายทั้ง 3 อย่างนั้น ด้วยอิติศัพท์
ที่มีความหมายว่า ปการะ พระอานนทเถระ จึงแสดงความหมายนี้ไว้ว่า
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีความหมายที่ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ
มีสมุฏฐานมาจากอัธยาศัยเป็นอเนก สมบูรณ์ด้วยอรรถ และพยัญชนะ มี
ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ อย่าง ลึกซึ้งด้วยธรรม (เหตุ) อรรถ (ผล) เทศนา และ
ปฏิเวธ มากระทบคลองแห่งโสตประสาทของสรรพสัตว์ คามสมควรแก่ภาษา
ของตน ๆ ว่า ใครเล่าจะสามารถเข้าใจได้ครบทุกประการข้าพเจ้าแม้ยังความ
เป็นผู้ประสงค์จะฟังให้เกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมด ก็ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ
แม้ข้าพเจ้าก็ฟังมาด้วยประการอย่างหนึ่ง.

อธิบายบทว่า นานานยนิปุณํ เป็นต้น


ในบทว่า นานานยนิปุณํ เป็นต้นนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
นัยต่าง ๆ อย่างกัน โดยแยกตามอารมณ์เป็นต้น กล่าวคือ เอกัตตนัย นานัตตนัย
อัพยาปารนัย และธัมมตานัย และกล่าวคือนันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีห-
วิกิฬิตนัย ทิสาโลจนนัย และอังกุสนัย ชื่อว่า นานานัย (นัยต่าง ๆ).
อีกประการหนึ่ง นัยทั้งหลายได้แก่ คติแห่งบาลี. และคติแห่งบาลีเหล่านั้น
ก็มีประการต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจบัญญัตินัย และอนุบัญญัตินัยเป็นต้น ด้วย
อำนาจสังกิเลสภาคิยาทินัย โลกิยาทินัย และตทุภยโวมิสสตานัยเป็นต้น ด้วย
อำนาจกุสลนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจขันธนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจสังคหนัยเป็นต้น